เมนู

คำว่า ทสฺสนวิสุทฺธิญาณํ - ญาณในความบริสุทธิ์แห่ง
มรรคญาณและผลญาณ
ความว่า มรรคญาณและผลญาณ ชื่อว่า
ทัสนะ, ทัสนะนั่นแหละบริสุทธิ์ ชื่อว่า ทัสนวิสุทธิ, ญาณคือทัสน-
วิสุทธิ ชื่อว่า ทัสนวิสุทธิญาณ. มรรคญาณย่อมบริสุทธิ์ ฉะนั้นจึง
ชื่อว่า ทัสนวิสุทธิ, ผลญาณก็ชื่อว่า ทัสนวิสุทธิ เพราะบริสุทธิ์แล้ว.

41. อรรถกถา ขันติญาณุทเทส


ว่าด้วย ขันติญาณ


บัดนี้ เพื่อจะแสดงวิปัสสนาญาณ 2 ประการอันให้สำเร็จทัสน-
วิสุทธิ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงยกขันติญาณและปริโยคาหณญาณ
ขึ้นแสดงต่อจากทัสนวิสุทธิญาณนั้น.
ในขันติญาณนั้น คำว่า วิทิตตฺตา ปญฺญา - ปัญญาในความ
ที่ธรรมปรากฏ
ความว่า ปัญญาอันเป็นไปแล้ว เพราะรู้แจ้งซึ่งธรรม
มีรูปขันธ์เป็นต้น โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น.
คำว่า ขนฺติ ญาณํ - ขันติญาณ ความว่า ธรรมชาติใด
ย่อมรู้ธรรมโดยความเป็นของไม่เที่ยงนั่งเอง ฉะนั้น จึงชื่อว่า ขันติ,
ญาณคือขันติ ชื่อว่า ขันติญาณ. ด้วยขันติญาณนี้ ย่อมห้ามอธิวาสน-

ขันติ. ขันติญาณนี้เป็นตรุณวิปัสสนาญาณอันเป็นไปแล้วด้วยสามารถ
แห่งสัมมสนญาณ มีการพิจารณาสังขารธรรมโดยความเป็นกลาป1เป็นต้น.

42. อรรถกถาปริโยคาหณญาณุทเทส


ว่าด้วย ปริโยคาหณญาณ


คำว่า ผุฏฺฐตฺตา ปญฺญา - ปัญญาอันถูกต้องซึ่งธรรม ความ
ว่า ปัญญาอันเป็นไปแล้วเพราะความที่แห่งธรรมทั้งหลายมีรูปขันธ์เป็น
ต้น เป็นธรรมอันญาณผัสสะถูกต้องแล้วด้วยสามารถแห่งการพิจารณา
โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น.
คำว่า ปริโยคาหเณ ญาณํ - ญาณในการหยั่งลง ความว่า
ญาณใด ย่อมหยั่งลง ย่อมเข้าไปสู่ธรรมอันญาณผัสสะถูกต้องแล้วนั่นเอง
ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่า ปริโยคาหณญาณ. อาจารย์บางพวก ทำ
รัสสะ คา อักษรเสียบ้างแล้วสวด. ปริโยคาหณญาณนี้เป็นติกขวิปัสสนา-
ญาณเป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่งภังคานุปัสนา. แต่อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า วิปัสสนาญาณนั่นแหละ เป็นขันติญาณสำหรับผู้มีสัทธาเป็น
พาหะ, เป็นปริโยคาหณญาณสำหรับผู้มีปัญญาเป็นพาหะ. เมื่อเป็น
1. คือยังทำลายฆนสัญญาไม่ได้.